♥♥♥ ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อการเรียนการสอน "หลักการเลือกคอมพิวเตอร์" (^-^)♥♥♥

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อซีพียู

    การเลือกซื้อซีพียู
การ เลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไร เช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้ เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท คือ www.amd.com และ www.intel.com ผู้สนใจลองทำการศึกษาอย่างน้อยเป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อไป
อันดับ แรกที่เราควรให้ความสำคัญ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจำมาประกอบเอง หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซตก็ตาม คือการเลือกซีพียูนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นและความเร็วของซีพียูตามระดับการใช้งานของเรา เพื่อเราจะได้ทราบรูปแบบอินเทอร์เฟส (Socket) สำหรับติดตั้งบนเมนบอร์ด เพื่อเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ตรงกับรุ่นของซีพียูต่อไป  
การเลือกความเร็วของซีพียู : ความเร็วของซีพียูในปัจจุบันถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว  สามารถแบ่งความเหมาะสมตามลักษณะของงานที่ทำได้ดังนี้
ตารางที่ 2-4 แสดงความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ
ลักษณะของงานที่ต้องการ
ความเร็วของซีพียู
งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต
ใช้ความเร็ว 700 1300 MHz
งานกราฟิกส์ ตกแต่งภาพความละเอียดสูง
ใช้ความเร็ว 1.3 2.0 GHz
งานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียง และวิดีโอ
ใช้ความเร็ว 2.0 GHz ขึ้นไป
                เลือกยี่ห้อของซีพียู : หากถามว่าจะเลือกซื้อซีพียู ค่ายไหนดี เท่าที่นิยมกันส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็มี Intel และAMD เท่านั้น
                ซีพียูจากค่าย Intel : ผลิตทั้งรุ่นที่ออกมาสำหรับตลาดระดับล่างอย่าง Celeron และรุ่น Pentium 4  สำหรับตลาดระดับบนที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานสูง โดยมากแล้วชิปซีพียูจากค่าย Intel จะได้รับความนิยมสูงกว่าค่ายอื่นๆ เพราะมีเสถียรภาพสูงกว่า และร้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ AMD
                ซีพียูจากค่าย AMD : ถือเป็นคู่แข่งตลอดกาลของ Intel โดยมีชิปซีพียูรุ่น Duron สำหรับตลาดราคาประหยัด และ AthlonXP สำหรับตลาดระดับบน โดยตัวเลขที่บอกประสิทธิภาพนั้นจะเปรียบเทียบกับ Athlon รุ่น Thunderbird ไม่ได้บอกเป็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาเหมือนอย่าง Intel โดยรวมแล้ว ชิปซีพียูของ AMD มีราคาต่ำกว่าพอสมควร ถือเป็นทางเลือกของผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพถือว่าไม่ด้วยกว่ากัน

เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง

5)       เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-5  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ Intel Core 2 Quad
แรม
ประเภท DDR2-800 ขนาด  1-2 GB ทำงานแบบ Dual Channel
ฮาร์ดิสก์
320 GB แบบ Serial ATA 300 (หรือนำ 250 GB มาต่อ RAID 0)
เมนบอร์ด
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 8x สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
การ์ดแสดงผล
nVidia GeForce 8600GTS หรือ ATi Radeon HD 2600 Pro
จอแสดงผล
จอภาพ LCD 19-22 นิ้ว

                นอก จากนั้น หากเครื่องของเราใช้ในการทำงานด้านตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก จำเป็นต้องเลือกการ์ดแสดงผลที่มีคุณภาพดี เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการติดขัด รวมทั้งขนาดของจอแสดงผลเลือกให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกด้วย

เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งาน Windows Vista

4)       เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งาน Windows Vista
สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-4  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับผุ้ใช้งาน Windows Vista
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Pentium Dual Core หรือ Core 2 Duo หรือ
 AMD Athlon 64 X2/Phenom X2
แรม
ประเภท DDR2-667 ขนาด  1-2 GB ทำงานแบบ Dual Channel
ฮาร์ดิสก์
250 GB แบบ Serial ATA 300 (ควรเลือกฮาร์ดิสก์แบบไฮบริด)
เมนบอร์ด
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 8x สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
การ์ดแสดงผล
nVidia GeForce 7300GT/7600 หรือ ATi Radeon X1600/X1650
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือก LCD ขนาด 17 นิ้วขึ้นไป หรือ  CRT 19 นิ้ว

เครื่องพีซีสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย

3)       เครื่องพีซีสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
เป็นพีซีสำหรับใช้โปรแกรมต่างๆ และเล่นเกมส์  3 มิติ จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีสเป็คสูงเช่นเดียวกัน สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-3  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Pentium Dual  หรือ AMD Athlon64x2
แรม
512 MB – 1 GB
ฮาร์ดิสก์
ความจุ 200-250 GB แบบ Serial ATA 300
เมนบอร์ด
ซีพียู Intel ควรเลือกชิปเซต i945P
ซีพียู AMD ควรเลือกชิปเซต nForce 4/500
การ์ดแสดงผล
nVidia GeForce 6600GT/7600 หรือ ATi Radeon X1600/X1650
ไดรว์ CD/DVD
CD-ROM หรือ DVD-ROM (อาจเพิ่ม CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล)
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 17 นิ้ว

เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ในออฟฟิศ

2)       เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ในออฟฟิศ
เป็น เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลายเช่น ตกแต่งภาพกราฟิกส์ งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง/ฟังเพลง มีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองการใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน เครื่องที่ตอบสนองเร็วทันใจ ไม่ช้าจนน่ารำคาญ สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-2  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับพีซีระดับผู้ใช้ในออฟฟิศ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Pentium Dual Core หรือ AMD Athlon64x2
แรม
512 MB ขึ้นไป
ฮาร์ดิสก์
ความจุ 160 GB
เมนบอร์ด
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 4x หรือ 8x สำหรับการ์ดแสดงผลคุณภาพ
การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน AGP 4x หรือ 8x ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 32 MB ขึ้นไป
ไดรว์ CD/DVD
CD-ROM หรือ DVD-ROM (อาจเพิ่ม CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล)
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 15-17 นิ้ว

เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้มือใหม่

1)       เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้มือใหม่
งาน ที่ใช้จะเป็นการสร้างเอกสาร/รายงาน ฟังเพลง ชมวิซีดี และเล่นอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่ได้เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก ในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ ไม่ต้องเน้นสเป็คเครื่องสูง และอยู่ในระดับราคาที่ย่อมเยา สเป็คที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-1 แสดงสเป็คเครื่องสำหรับพีซีระดับผู้ใช้มือใหม่
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Celeron D หรือ AMD Athlon64x2
ความเร็วซีพียู 700 MHz -1.3 GHz
แรม
ประเภท DDR-SDRAM ขนาด 256-512 MB
ฮาร์ดิสก์
ความจุ 80-160 GB ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
ไดรว์ CD/DVD
CD-ROM หรือ DVD-ROM
เมนบอร์ด
เลือกประเภทที่มีชิปประเภทแสดงผล และเสียงมาด้วย (VGA และ Sound on-board) เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผลเลือกแบบ CRT ปกติ อาจเลือกขนาด 17 นิ้ว สำหรับการชมภาพยนตร์ ส่วนไดรว์ซีดี, โมเด็ม, ลำโพง และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ

วิธีกำหนดสเป็คเครื่อง

          วิธีกำหนดสเป็คเครื่อง
หลัง จากรู้ลักษณะการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วว่าจะอยู่ในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดสเป็คเครื่องที่รองรับการทำงานประจำที่จะเกิดขึ้นกับ เครื่องพีซีนั้น ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดสเป็คของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เหมาะสมแตกต่างกัน ไป โดยมีแนวทางในการเลือก 

สำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์

           สำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
                                การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (Graphic User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป
1)       สำหรับ ผู้ใช้มือใหม่ ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เครื่องมีปัญหาได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่มีราคาแพง
2)       สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ Photoshop แต่ง ภาพเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่ เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล
3)       สำ หรับนักศึกาามหาวิทยาลัย ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาจะเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้นสามารถใช้งานโปรแกรม ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้ระดับนี้อาจจะประกอบเครื่องใช้เองได้ เพราะจะทำให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น การใช้งานเน้นไปทางพิมพ์งานส่งอาจารย์
4)       สำหรับผู้ใช้งาน Windows Vista จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงในระดับหนึ่ง ด้วยการเป็นซีพียู Dual Core พร้อมแรม 1 GB ขึ้นไป ฮาร์ดิสก์ 250 GB หากตรงตามมาตรฐาน Window Vista Premium ต้องใช้ฮาร์ดิสก์แบบไฮบริดเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดจะมีราคาแพงมาก
5)       สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง หรือผู้ที่ชอบเล่นเกมส์จะต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง การประกอบเครื่องเองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
                ดังนั้นก่อนอื่นควรศึกษาและสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก่อนว่า แต่ละอย่างมีคุณสมบัติอย่างไร และราคาเท่าไร จากนั้นจึงหันกลับมาดูถึงความต้องการว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอะไร อย่างไร จากนั้นจึงเลือกสเป็คให้พอดีกับความต้องการ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิต (ยี่ห้อ) และราคาจะเป็นปัจจัยในการเลือกรองลงมา

หลักการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

    หลักการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
                การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเราควรต้องทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่น ซึ่งเนื้อหาจะให้รายละเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็น
แผนภาพดังต่อไปนี้



           การกำหนดระดับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้เราได้สเป็คเครื่องที่ตรงกับความต้องการ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

TIP&TRICK ตรวจดูสเปคคอมฯ(ต่อ)

2. ดูวิธีต่อไปครับ

ตอนนี้เราจะเริ่มใช้ RUN ให้เกิดประโยช์น์ครับ

คลิก Start > Run


จะมี RUN เด้งขึ้นมา

พิมพ์ dxdiag  ลงไปครับ
 

อย่าตกใจหากมีอะไรเด้งขึ้นมา 555



เอา หละครับ รู้หมดไสหมดพุงเลย เอาเป็นว่า ดุเองครับ อยากรู้ไร ดุครับ แต่ควรระวังอย่ายุ่งหรือเปลี่ยนแปลงนะ เดี๊ยวคอมพ์ พัง แบบว่า ดูอย่างเดียว

อิกนิดหนึ่ง หากจะดู ไดร์เวอร์ การ์ดจอ กดที DISPLAY ข้างบนครับ

โอเคหละครับ มีประโยชน์มาก ในการดูสเปคคอมพ์ ที่เรา เอาไปซ่อม หรือว่า ในการเลือกซื้อหา
สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อน คราวหน้าจะหาเรื่องมาเล่าใหม่ไปหละ 

CD :: http://computereasy.exteen.com/20090316/tip-trick